นวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์
นวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์

นวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์ของเรานั้นมาจากกระบวนการผลิต สิทธิบัตรที่ใช้/หรือจดทะเบียน และสัดส่วนยอดขายจากผลิตภัณฑ์ใหม่ เรากำลังสร้างผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประเมินการใช้วัตถุดิบได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่องมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพ เศรษฐกิจ และสอดคล้องกับข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติตาม

นวัตกรรมเชิงกระบวนการ
นวัตกรรมเชิงกระบวนการ

ไอวีแอลยังคงแสวงหาสิ่งที่ควรปรับปรุงผ่านกระบวนการเชิงนวัตกรรมเพื่อ

  • เพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ (ลดของเสียและการคัดเกรด)
  • ลดต้นทุนการผลิต (ลดต้นทุนพลังงาน)
  • เพิ่มความสม่ำเสมอของผลิตภัณฑ์ (ลดต้นทุนในห่วงโซ่คุณค่า)
  • ลดการใช้พลังงาน
  • ลดการปล่อยน้ำทิ้ง (สู่อากาศหรือแหล่งน้ำ)
  • ปฏิบัติตามข้อกำหนด
  • ปรับปรุงสภาวะในการทำงาน (ลดเสียงรบกวน)

นวัตกรรมเชิงสิ่งแวดล้อม

ความสำเร็จด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเราแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในการส่งเสริมความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า แนวทางปฏิบัติด้านการดูแลรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของเรานั้นมุ่งเน้นไปที่ การปฏิบัติตามข้อกำหนด การอนุรักษ์ และส่งเสริมการใช้หลักการ 3Rs คือ ลดการใช้ ใช้ซ้ำ การรีไซเคิล เพื่อให้มั่นใจว่าการดูแลรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับคนรุ่นปัจจุบันและอนาคตนั้นเป็นรากฐานที่สำคัญต่อธุรกิจที่ยั่งยืน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

นวัตกรรมแบบเปิด

นวัตกรรมแบบเปิดเอื้อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญต่าง ๆ เช่น ช่วยลดต้นทุน เร่งเวลานำสินค้าออกสู่ตลาด เพิ่มกระบวนการเชิงนวัตกรรมที่แตกต่างอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนี้ยังเสริมสร้างแหล่งรายได้ใหม่ ๆ เราตระหนักถึงความสำคัญเหล่านี้เป็นอย่างดี จึงได้เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี ลูกค้า และซัพพลายเออร์ เพื่อพัฒนาสินค้า และกระบวนการใหม่ ๆ อันนำมาซึ่งคุณค่าสูงสุดแก่ลูกค้า

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน

ไอวีแอลมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการนำลูกค้าสินค้ารีไซเคิลเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มความสามารถในการ รีไซเคิลผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ความมุ่งมั่นนี้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเรา ซึ่งเห็นได้จากการร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ Project MainStream เพื่อกระตุ้นนวัตกรรม ขับเคลื่อนธุรกิจ และเพิ่มขอบเขตการรีไซเคิล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ศูนย์การวิจัยและพัฒนา

ไอวีแอลมีศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) กว่า 27 แห่งทั่วโลกเพื่อคงไว้ซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน เราเพิ่มกำลังสนับสนุนนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบและกระบวนการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม ปี 2565 ไอวีแอลมีสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์มากกว่า 1,300 สิทธิบัตร ซึ่งบังคับใช้ในทุกภูมิภาคที่โรงงานของเราตั้งอยู่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การจัดการนวัตกรรมเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของเรา รวมถึงการประเมินระบบในปัจจุบัน การปฏิบัติ การพัฒนาแตกยอดผลิตภัณฑ์และกระบวนการในปัจจุบัน เราได้ประเมินความเข้าใจต่อตลาดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการของลูกค้า การจัดประชุมสุดยอดด้านนวัตกรรมเพื่อศึกษาโอกาสที่เป็นไปได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ

ไอวีแอลปฏิบัติตามองค์ประกอบหลัก 2 ประการของระบบ stage-gate ประการแรกเราต้องการตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถระบุมูลค่าที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมนั้นได้อย่างชัดเจน ประการที่สองเราต้องการแน่ใจว่าสามารถนำแนวคิดและนวัตกรรมออกสู่ตลาดได้โดยเร็วที่สุด

ระบบ Stage-Gate

ระบบ Stage-Gate นับเป็นกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญ ที่ไอวีแอลนำหลักการนี้ออกสู่สากลเพื่อจัดการโปรแกรมพัฒนาและวิจัยให้ดียิ่งขึ้น นอกเหนือจากประโยชน์ที่เป็นที่รู้จักและความเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว ยังสามารถผสานรวมกับการดูแลผลิตภัณฑ์ ผ่านการประเมินอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่หลากหลาย

กระบวนการ Stage-Gate ช่วยเพิ่มความชัดเจนกับทีมขายและการตลาดเกี่ยวกับมูลค่าและความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารพิจารณาได้ว่าโครงการใดมีผลกระทบที่เห็นชัดที่สุด เป้าหมายของกระบวนการ stage-gate ของเราคือสามารถประเมินความสามารถในเชิงพาณิชย์และทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้เราจึงสามารถประเมินได้ตั้งแต่ระยะแรกว่าการออกแบบนั้นเหมาะสมกับวัตถุประสงค์หรือไม่

เมื่อเรามั่นใจว่าการออกแบบเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และลูกค้าพึงพอใจแล้ว เราจะสามารถขยายโครงการและผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงและหลีกเลี่ยงการไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ขั้นตอนของกระบวนการ Stage-Gate เริ่มต้นด้วยต้นแบบ จากนั้นจึงปรับขยายผ่านขั้นตอนต่างๆ วิธีนี้ช่วยลดความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ที่อาจส่งผลกระทบด้านการเงิน ซึ่งไม่สามารถตอบโจทย์ในเชิงพาณิชย์หรือในทางเทคนิคได้

โครงสร้างการควบคุมนวัตกรรม

คณะกรรมการด้านนวัตกรรมจะประชุมทุกไตรมาสเพื่อพิจารณาข้อเสนอโครงการ เทคโนโลยีใหม่ ๆ และความต้องการของลูกค้า อีกทั้งติดตามความคืบหน้าของโครงการเพื่อพิจารณาปัญหาและพัฒนาแนวทางแก้ไขเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

คณะกรรมการด้านนวัตกรรมในภาคการผลิตเส้นใย มีหน้าที่ในการประสานงานซึ่งมีขอบเขตสากล เช่น ดัชนีความยั่งยืนของดาวน์โจนส์ (DJSI) การจัดการนวัตกรรมและการดูแลผลิตภัณฑ์ เราได้ปรับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราให้สอดคล้องกับผู้นำในภาคการผลิต แนวคิดของโครงการอาจเกิดขึ้นได้จากหลากหลายช่องทาง ซึ่งมักจะเกิดผ่านช่องทางการขายและการตลาดหรืออื่น ๆ โดยตรงจากการวิจัยและพัฒนา

บ่อยครั้งที่โครงการเหล่านี้สามารถจัดการได้โดยตรงจากโรงงาน บางครั้งโครงการอาจต้องการทรัพยากรจากหลากหลายแหล่ง เช่น ทรัพยากรจากโรงงานอื่นๆ หรือทรัพยากรจากภายนอก ดังนั้นผู้นำในการวิจัยและพัฒนาจึงนำแนวคิดเหล่านี้ไปใช้ในโรงงานที่เหมาะสมหรือประสานงานโครงการร่วมกับโรงงานอื่น ๆ จากนั้นทีมวิจัยและพัฒนาจะร่วมมือกับลูกค้าเพื่อกำหนดและปรับแต่งแนวคิดเพื่อพัฒนาโครงการต่อไป นอกเหนือจากทีมงานวิจัยและพัฒนาของโรงงานและทีมขายและการตลาดแล้วโครงการเหล่านี้จะถูกแปลงเป็นแพลตฟอร์มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้เรายังสร้างนวัตกรรมผ่านแหล่งอื่น ๆ เช่น จาก ซัพพลายเออร์และเปิดโอกาสให้นวัตกรรมใหม่ ๆ จากสถาบันศึกษา