อินโดรามา เวนเจอร์ส มุ่งมั่นที่จะลดความกังวลของผู้บริโภค ในเรื่องผลกระทบของขวดพลาสติก PET ต่อสิ่งแวดล้อม เราจึงได้ร่วมมือกับหลากหลายองค์กร เพื่อเพิ่มอัตราการรีไซเคิลโพลีเอสเตอร์ทั่วโลกและลงทุนในอุตสาหกรรมรีไซเคิล ในฐานะผู้ผลิตเม็ดพลาสติก PET รายใหญ่ที่สุด เราต้องการขึ้นเป็นผู้นำในการรีไซเคิลขวด PET และบรรจุภัณฑ์พลาสติก เราจะจัดหาวัสดุ PET รีไซเคิลตามความต้องการของลูกค้า และนอกจากนั้นในกระบวนการรีไซเคิล เราจะร่วมกันประหยัดพลังงาน ทรัพยากรน้ำ และลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

The Secrets to Unlocking the Next Frontier for a Circular Economy in the Asia-Pacific Region

(The source of this information is available at https://repository.unescap.org/handle/20.500.12870/7491)

อ่านเพิ่มเติม
Circular Economy

ความสำเร็จด้านเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน

การออกแบบ

ผลิตภัณฑ์ของเราถูกออกแบบให้มีน้ำหนักเบาและมีประสิทธิภาพสูงเมื่ออยู่ในขั้นตอนการใช้งานและรวมถึงเป็นวัสดุที่มีความยั่งยืนและสามารถรีไซเคิลได้ ที่สามารถจัดการได้โดยง่ายเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน

เทคโนโลยีสิ่งทอ CiCLO ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

CiCLO เป็นเทคโนโลยีสิ่งทอที่ส่งเสริมการย่อยสลายเส้นใยสังเคราะห์ทางชีวภาพ ซึ่งช่วยลดมลพิษจากไมโครไฟเบอร์สังเคราะห์ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ถูกทิ้งลงในมหาสมุทร หลุมฝังกลบ หรือระบบน้ำเสีย

การผลิต

การดำเนินงานที่มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการเลือกใช้วัตถุดิบทางเลือกที่ทดแทนได้และทรัพยากรทดแทนรวมไปถึงการลดการบริโภคทรัพยากร

ผลการดำเนินงานในปี 2566

  • การติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งในและนอกสถานที่: จำนวน 16 แห่งในประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย ลิทัวเนีย สหรัฐอเมริกา อิตาลี และอียิปต์
  • การรีไซเคิล : 324,256 ตันของขวด PET หลังการบริโภคที่ถูกนำมารีไซเคิล
การนำของเสียกลับมาใช้ทั้งหมด 75%
  • การใช้น้ำ : อัตราการใช้น้ำ = 5.21% ต่อตันการผลิต
  • การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่/รีไซเคิล = 6.96%
การจัดจำหน่าย

การพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ / การคำนวณก๊าซเรือนกระจก Scope 3

การพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ / การคำนวณก๊าซเรือนกระจก Scope 3

  • การพัฒนาปรับปรุงการขนส่งและการกระจายสินค้าขั้นต้นและขั้นปลาย
  • เปลี่ยนการขนส่งจากทางถนนเป็นทางรถไฟ
  • มุ่งให้การขนส่งสินค้าเป็นการจัดส่งโดยตรงและหลีกเลี่ยงการขนส่งที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้าหลายจุดในระหว่างเส้นทาง

กรณีศึกษา

ทางออกในการแลกเปลี่ยนเอทิลีน

Indorama Ventures (Oxide & Glycols) LLC หรือ IVOG คือบริษัทย่อยที่ไอวีแอลเป็นเจ้าของทั้งหมด ตั้งอยู่ในเมืองเคลียร์เลค (ฮิวสตัน) รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตเอทิลีนออกไซด์และเอทิลีนไกลคอล (EO/EG) และไอวีแอลกำลังตั้งโรงงานผลิตโอเลฟินส์ คือ Indorama Ventures Olefins LLC หรือ IVOL ในเมืองเลคชาร์ลส์ รัฐลุยเซียนา ซึ่งเป็นรัฐติดกับเท็กซัส ทั้งสองบริษัทอยู่ห่างกัน 275 ไมล์

สำหรับการจัดซื้อและส่งเอทิลีนไปยัง IVOG เพื่อเป็นวัตถุดิบนั้น IVOL จึงตัดสินใจเลือกทำสัญญาแลกเปลี่ยนเอทิลีนกับผู้ผลิตร่วมระยะเวลา 10 ปี ด้วยเหตุนี้ อินโดรามาจึงมีตัวเลือกในการส่งมอบการผลิตเอทิลีนทั้งหมด 420 กิโลตันต่อปีของ IVOL ให้แก่ผู้ผลิตร่วม และสำหรับการส่งกลับไปยังจุดหมายที่มีการตกลงร่วมกันระหว่างคู่สัญญา ข้อตกลงนี้ส่งผลดีต่อทั้ง IVOL และผู้ผลิตร่วมที่มีปริมาณการผลิตเอทิลีนเกินกำลังในเท็กซัสและปริมาณการผลิตไม่เพียงพอในลุยเซียนา และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งผ่านท่อของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ยังสามารถมั่นใจได้ว่า โรงงาน EO/EG ที่เมืองเคลียร์เลคของ IVOG จะสามารถผลิตและจัดจำหน่ายได้อย่างเพียงพอโดยไม่มีการหยุดชะงักหากเกิดสถานการณ์ที่อาจมีปัญหาด้านการผลิตจากโรงงานใดโรงงานหนึ่ง

การบริโภค

ผลักดันการปรับแก้กฎหมาย และข้อบังคับโดยการจัดให้มีและการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะพลาสติก และการเพิ่มอุปสงค์สำหรับพลาสติก PET รีไซเคิล

ความพยายามในการผลักดันการใช้พลาสติกรีไซเคิลในบรรจุภัณฑ์อาหาร

สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย โดยการสนับสนุนจาก กลุ่มธุรกิจ โคคา-โคล่า ในประเทศไทย บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ร่วมกับ บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส ประกาศความร่วมมือเร่งผลักดันให้มีการพิจารณาแก้กฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้สามารถนำขวดบรรจุเครื่องดื่มที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล หรือ Recycled PET (rPET) มาใช้ได้ในประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม

การเพิ่มอุปสงค์สำหรับพลาสติกรีไซเคิล

ไอวีแอลทำข้อตกลงกับบริษัทผู้นำด้านความงามและแบรนด์อาหารและเครื่องดื่ม เพื่อจัดหาบรรจุภัณฑ์ PET แบบยั่งยืนเป็นเวลา หลายปี

  • จัดหา PET เรซินซึ่งทำจากวัสดุรีไซเคิล 100% สำหรับบรรจุภัณฑ์ของ L'ORÉEAL
  • L'OCCITANE ได้บรรลุเป้าหมายการใช้ขวดรีไซเคิล 100% ก่อนเวลาที่กำหนดไว้

ความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร (BMA)

ร่วมกับสำนักการศึกษาของกรุงเทพมหานคร เราได้ดำเนินโครงการบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน โดยจัดการอบรมผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 437 คนณ สิ้นปี 2022 เราได้ให้ความรู้แก่นักเรียนจำนวน 2,445 คนใน 19 โรงเรียนทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร และตั้งเป้าขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมโรงเรียนทั้งหมด 100 แห่งในปี 2023

อ่านเพิ่มเติม

Waste Hero Education: Reduce to Zero

อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) ร่วมมือกับ Yunus Thailand เปิดตัวโครงการ Waste Hero Education: Reduce to Zero ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลระดับโลกสำหรับครูผู้สอน ประกอบด้วยแผนการสอนที่ออกแบบมาอย่างดีจำนวน 19 แผน ครอบคลุมหัวข้อพื้นฐานการรีไซเคิล การสร้างขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste) และการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนเนื้อหานี้ได้รับการพัฒนาโดยนักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญจาก 17 ประเทศ และผ่านการทดสอบในระดับนานาชาติ โดยเนื้อหาได้รับการปรับให้เหมาะสมสำหรับนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ เรายังร่วมมือกับพันธมิตรในระดับภูมิภาค เพื่อเผยแพร่เนื้อหาผ่านเครือข่ายครูและนักการศึกษาทั่วโลก

อ่านเพิ่มเติม
การจัดเก็บ

การร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อสร้างความตระหนักต่อการให้ความรู้ด้านการรีไซเคิล (คู่ค้า / หุ้นส่วนทางธุรกิจ / ลูกค้า / บุคคลทั่วไป / นักเรียน / ครู / หน่วยงานภาครัฐและเอกชน)

ไอวีแอลส่งเสริมการรีไซเคิลและการคัดแยกขยะแก่เด็กๆในชุมชน และผู้บริโภค ผ่านโครงการให้ความรู้ด้านการรีไซเคิล ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการปกป้องสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตที่ดีกว่า ในปี 2563 เรามีการจัดโครงการดังกล่าวเพื่อให้ความรู้ในหลายองค์กร

อ่านเพิ่มเติม

ไอวีแอลได้ร่วมมือกับพันธมิตรหลายราย ในการรวบรวมขวด PET ที่ใช้งานแล้วและส่งกลับไปที่โรงงานรีไซเคิลของเรา เพื่อสร้างความตระหนักและแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรีไซเคิล PET

จีอีพีพี: มูลนิธิไอวีแอล และองค์กร จีอีพีพี ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือใน "โครงการจัดเก็บขยะรีไซเคิลเพื่อความยั่งยืน" เพื่อนำขวดพลาสติก PET มาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)


โคคา-โคลา ประเทศไทย: ไอวีแอลร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "โค้กขอคืน x Central Group Journey to Zero" โดยร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือสนับสนุนและจัดทำระบบส่งเสริมการแยกขยะที่ต้นทางในบริเวณศูนย์การค้าของเซ็นทรัล และนำส่งบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ตลอดจนวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ ที่จัดเก็บได้ให้กับบริษัทพันธมิตรเพื่อนำวัสดุเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง


มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: ไอวีแอลลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการคัดแยกการจัดการขยะรีไซเคิล โดยจะร่วมกันพัฒนาสื่อให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะ และการ รีไซเคิลขยะพลาสติก คิดค้นนวัตกรรมกักเก็บขยะจากแหล่งน้ำไหลก่อนที่ขยะจะเคลื่อนตัวออกสู่ทะเล และสร้างความตระหนักรู้ด้านการคัดแยกขยะและพลาสติก


บางจาก คอร์ปอเรชั่น: ไอวีแอล และ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อเข้าร่วมโครงการ 'รักปันสุข' โครงการความยั่งยืนเพื่อสนับสนุนการรีไซเคิลขวด PET ที่ใช้แล้วโดยมีจุดรับบริจาคขวด PET ที่สถานีบริการน้ำมันบางจากกว่า 100 แห่งทั่วกรุงเทพและปริมณฑลจากโครงการดังกล่าวสามารถเก็บรวบรวมขวด PET และนำส่งโรงงาน รีไซเคิลของเราได้เป็นจำนวน 600,000 ขวด


เอชเอสบีซี ประเทศไทย: ไอวีแอลร่วมมือกับธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทยจัดโครงการ "แยกขวดช่วยหมอ" ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนขวด PET ใช้งานแล้วเป็นเส้นใยรีไซเคิลสำหรับผลิตชุด PPE เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมาก ภายใต้โครงการนี้ เอชเอสบีซีสามารถรวบรวมขวด PET ใช้งานแล้วได้กว่า 200 กิโลกรัม ซึ่งเทียบเท่าเส้นใยที่นำไปผลิตชุด PPE รีไซเคิล 650 ชุด เพื่อใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงระดับน้อยถึงปานกลาง

อินโดรามา เวนเจอร์สได้รับรางวัล "International Textile Manufacturing Federation" หรือ ITMF Award ในปี 2565 เพื่อยกย่องความก้าวหน้าด้านความร่วมมือระหว่างประเทศในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผ่านโครงการ ReHubs - Initiatives for fiber-to-fiber recycling in Europe ซึ่งสอดคล้องกับค่านิยมของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ประการ (SDGs) ภายใต้แผนงานปี 2573 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

อินโดรามา เวนเจอร์สยังมีส่วนร่วมในโครงการ Transform Textile Waste into Feedstock ซึ่งพัฒนาโดย TEXAID โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดตั้งศูนย์คัดแยกสิ่งทอที่สามารถขยายขนาดได้ทั่วยุโรป โดยศูนย์แห่งแรกจะมีความสามารถในการคัดแยก 50,000 ตันภายในสิ้นปี 2567 โครงการนี้จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมสิ่งทอยุโรป โดยการปิดช่องว่างทางเทคโนโลยีเพื่อรับประกันการได้มาซึ่งวัตถุดิบคุณภาพสูงจากของเสียสิ่งทอที่ไม่สามารถสวมใส่ได้ ทั้งก่อนและหลังการบริโภคในเชิงพาณิชย์

การรีไซเคิล

การรีไซเคิลคือหัวใจหลักของเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของโลกในอนาคต

ในปี 2554 การผลิต rPET ของเราอยู่ที่ประมาณ 3,576 ตัน แต่ในปี 2563 นั้นมีการเติบโตแบบทวีคูณเป็นประมาณ 222,288 ตัน ในช่วงเวลานี้เรารีไซเคิลขวดประมาณ 58 พันล้านขวด ซึ่งช่วยลดการฝังกลบขยะพลาสติกได้ถึง 1.3 ล้านตัน เป็นจำนวนที่ครอบคลุมสนามฟุตบอลได้ถึง 514 สนาม ช่วยลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 1.9 ล้านตันและประหยัดน้ำมันดิบมากกว่า 3 ล้านบาร์เรล

ไอวีแอลนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้เพื่อพัฒนากระบวนการรีไซเคิล PET ในปี 2554 เราได้เข้าซื้อกิจการและครอบครองความรู้ด้านการรีไซเคิลเชิงกลผ่านทรัพย์สินของบริษัท Wellman และเมื่อเดือนธันวาคม 2563 เราได้เพิ่มโครงสร้างพื้นฐานด้านการรีไซเคิลได้ทั้งหมด 11 แห่งทั่วโลก และสามารถรีไซเคิลขวดพลาสติก PCR ได้ทั้งสิ้น 350,903 ตัน

เราได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรอุตสาหกรรมและองค์กรหลายแห่ง โดยมีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะพัฒนาระบบการจัดการขยะพลาสติก ซึ่งจะนำไปสู่เศรษฐกิจแบบหมุนเวียนที่ยั่งยืนสำหรับพลาสติก

The New Plastics Economy: ไอวีแอลร่วมประกาศเจตนารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของ The New Plastics Economy Global Commitment เพื่อแก้ไขปัญหาขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติก และเพิ่มการใช้งานพลาสติกรีไซเคิลในการผลิตบรรจุภัณฑ์ โดยต้องการให้องค์กรภาครัฐและเอกชนร่วมกันคิดค้นแนวทางที่จะสามารถทำให้พลาสติกสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ รีไซเคิล หรือย่อยสลายได้ 100 เปอร์เซ็นต์

Global Plastic Action Partnership: ไอวีแอลประกาศเข้าร่วมหุ้นส่วนปฏิบัติการขยะพลาสติกโลก หรือ จีพีเอพี (Global Plastic Action Partnership: GPAP) ซึ่งมุ่งลดการรั่วไหลของพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสำหรับเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนสำหรับพลาสติก ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของไอวีแอล ที่ประกาศไว้ในปี 2562 ในการเพิ่มกำลังการรีไซเคิลเป็นอย่างน้อย 750,000 ตันต่อปี พร้อมลงทุน 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2568

The Recycling Partnership: ไอวีแอลประกาศลงนามความร่วมมือกับ The Recycling Partnership หน่วยงานเพียงหนึ่งเดียวในสหรัฐอเมริกาที่ทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับห่วงโซ่การรีไซเคิลอย่างเต็มรูปแบบ ความร่วมมือของไอวีแอลและพันธมิตรการรีไซเคิลนี้จะช่วยส่งเสริมอัตราการรีไซเคิลในครัวเรือนสหรัฐ และช่วยเพิ่มปริมาณ PET รีไซเคิล เพื่อสนับสนุนปฏิญญาระดับโลกที่ต้องการเพิ่มการใช้งานผลิตภัณฑ์รีไซเคิลในการผลิต

เราสนับสนุนความพยายามระดับโลกอย่างจริงจัง เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) รวมถึงให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการจัดการกับ SDGs ซึ่งสัมพันธ์กับความพยายามในการรีไซเคิลของเรา ดังต่อไปนี้

อินโดรามา เวนเจอร์ส เป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่สามารถผลิตเส้นใยคุณภาพสูงจากการรีไซเคิล PET เพื่อนำไปผลิตชุด PPE ประเภท Reusable Isolated Gown Level 3 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยร่วมกับองค์กรพันธมิตร ได้แก่ เครือข่ายลดพลาสติกไทยแลนด์, บริษัท ไทยแทฟฟิต้า จำกัด, บริษัท ทองไทยการทอ จำกัด , บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และกลุ่ม GoWith20 เพื่อฮีโร่ไทยสู้โควิด19 ทั้งนี้ ชุด PPE ดังกล่าวเกิดจากขวด PET ใช้งานแล้วที่รวบรวมจากหลากหลายองค์กรในประเทศไทย และนำไปรีไซเคิลที่โรงงานของอินโดรามา เวนเจอร์ส ในจังหวัดนครปฐม

อ่านเพิ่มเติม

เราได้ก่อตั้ง Indorama Ventures Investments & Holdings (IVIH) ซึ่งเป็นศูนย์บ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยมุ่งเน้นการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพที่พัฒนานวัตกรรมด้านการรีไซเคิล เคมีชีวภาพและพอลิเมอร์ที่ผลิตจากชีวภาพ วัตถุดิบหมุนเวียน และพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจนถึงปัจจุบัน เราได้ระบุโครงการที่มีศักยภาพในการสนับสนุนพันธกิจเหล่านี้แล้วถึง 30 โครงการ ด้วยการใช้วัตถุดิบหมุนเวียนแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Feedstocks) อินโดรามา เวนเจอร์สสามารถลดการสร้างของเสียอันตราย การใช้วัตถุดิบจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำให้กลยุทธ์นี้เป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน

โครงการ “ขวดใสเพื่อโลกสวย” PET Bottles for a Better Tomorrow

อินโดรามา เวนเจอร์ส ร่วมกับ บริษัท ไทยวาโก้รณรงค์ให้ประชาชนร่วมลดขยะชุมชน ด้วยการคัดแยกขวด PET และรวบรวมมาบริจาคให้กับไทยวาโก้ โดยตั้งเป้าแปรรูปขวดพลาสติกเดือนละ 1 ตันหรือเทียบเท่าขวดน้ำ ดื่มขนาด 600 มิลลิลิตร จำนวนกว่า 45,000 ขวด ต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี

ทั้งนี้ อินโดรามา เวนเจอร์ส จะนำขวดพลาสติกมารีไซเคิลและแปรรูปเป็นเส้นด้ายคุณภาพสูง ซึ่งสามารถนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์และสินค้าต่างๆ ในเครือวาโก้ ภายในแนวคิด Eco Bra

ดูเพิ่มเติม

IVL & Circular Economy Annual General Meeting

Download