การบริหารจัดการด้านพลังงาน

เราตระหนักถึงความสำคัญของพลังงานสะอาดที่มีราคาย่อมเยา พลังงานสะอาดนี้เป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ที่จัดตั้งขึ้นโดยสหประชาชาติ เรามุ่งมั่นที่จะให้บริการลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์ความเข้มคาร์บอนต่ำที่ผลิตจากพลังงานสะอาดที่เกิดจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน โรงงานสี่แห่งของเรา Orion Global PET ในลิทัวเนีย, Indorama Ventures Quimica ในสเปน, Wellman International ในไอร์แลนด์ และ UTT Technische Textilien ในเยอรมนีใช้พลังงานทดแทน 100% Indorama Holdings ในลพบุรีประเทศไทยติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 5 MW เพื่อผลิตพลังงานทดแทน นอกจากนี้โครงการพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาถูกสร้างขึ้นที่บริษัทย่อยสองแห่งของเราได้แก่ Avgol ในอินเดียและ IVL Dhunseri Petrochem Industries Private imited (IDPIPL) - Karnal ซึ่งโครงการนี้จะเสร็จสิ้นขั้นตอนการรับค่าคอมมิชชั่นและเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในปี 2562 นอกจากนี้ ยังมีโรงงานของเราอีกสี่แห่ง ที่อยู่ระหว่างการสร้างแผงพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าว ได้แก่ AsiaPet (Thailand) Limited Indorama Polyester Industries (Nakhon Pathom) Indorama Petrochem (PET) และ Indorama Petrochem (PTA)

การใช้พลังงานทดแทน

เป้าหมายปี 2573
การใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานทดแทนอยู่ที่ 25%

 

พลังงานทดแทนจากชีวมวล (กิกะจูล)
พลังงานทดแทนจากก๊าซชีวภาพ (กิกะจูล)
พลังงานไฟฟ้าทดแทน (กิกะจูล)

ลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกถึง

87,227

tCO2e

การใช้พลังงานทดแทนของเราในปี 2563 อยู่ที่ประมาณ 1.77 ล้านกิกะจูล ส่งผลให้เราลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 87,227 tCO2e ความพยายามของเรากำลังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ

เรามุ่งมั่นที่จะจัดหาไฟฟ้าเพิ่มเติมจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนและดำเนินการสำรวจวิธีการปรับปรุงการจัดการพลังงานของเรา เรากำลังสำรวจตลาดพลังงานทดแทนและวิธีการกำหนดราคา โดยสำรวจทางเลือกของสัญญาซื้อขายไฟฟ้านอกสถานที่ Power Purchase Agreement (PPAs) เพื่อจัดหาไฟฟ้าจำนวนมาก นอกจากนี้เรายังสำรวจโอกาสในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาของโรงงานบางแห่งของเรา นี่เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเราในด้านพลังงานแสงอาทิตย์

กรณีศึกษา
นวัตกรรมจากรั้วพลังงานแสงอาทิตย์

โรงงาน UAB Orion Global PET ของเราในประเทศลิทัวเนีย มีการสร้างโรงผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยติดตั้งรั้วจาก แผงโซล่าเซล ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 55.82 เมกะวัตต์-ชั่วโมง ต่อปี และมีกำลังการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ทั้งหมด 390,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง

ไฟฟ้าที่สะอาดและเป็นพลังงานทดแทนซึ่งได้จากแผงพลังงานแสงอาทิตย์

Indorama Polyester Industries (จังหวัด นครปฐม) ประเทศไทย หรือ IPI - N ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่เราเป็นเจ้าของแสดงให้เห็นถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของโรงงาน แผงพลังงานประสิทธิภาพสูงเหล่านี้มีความจุ 840 กิโลวัตต์สูงสุด และสามารถผลิตไฟฟ้าได้ ประมาณ 1,173 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี เห็นได้ชัดว่าแหล่งพลังงานที่ไม่สิ้นสุดนี้ให้ประโยชน์ในมุมมองทางการเงินและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสามารถประหยัดค่าไฟฟ้ารายปีได้ ประมาณ 122,000 เหรียญสหรัฐ จากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 560 tCO2e/ปี แผงพลังงานแสงอาทิตย์ถูกติดตั้งและเริ่มผลิตพลังงานในเดือนกรกฎาคม 2562 ไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตในปี 2562 มีปริมาณ 565,327 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 270 ตัน และลดการใช้พลังงานจากแหล่งดั้งเดิมอื่นๆ 2,035 กิกะจูล รวมทั้งช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า 58,788 เหรียญสหรัฐ แผงพลังงานแสงอาทิตย์ของ IPI - N นี้เป็นก้าวสำคัญในการลด ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Entreprise Indorama PTA Montréal ในแคนาดาลดก๊าซเรือนกระจกด้วยการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อลดค่าก๊าซชีวภาพ

Indorama PTA Montréal บริษัทย่อยในประเทศแคนาดาที่ไอวีแอลเป็นเจ้าของ เป็นผู้บุกเบิกการใช้ก๊าซชีวภาพในปี 2552 โดยติดตั้งหน่วยผลิตก๊าซชีวมวล ซึ่งวิธีนี้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นได้อย่างมีมีประสิทธิภาพ หน่วยผลิตนี้ประกอบด้วยเครื่องอัดก๊าซ เครื่องลดความชื้นของก๊าซ และอุปกรณ์จ่ายก๊าซ/หัวเผา เพื่อจะใช้ก๊าซชีวมวลที่ผลิตขึ้นแทนที่ก๊าซธรรมชาติในเตาเผา ก๊าซชีวมวลสร้างขึ้นจากการบำบัดน้ำเสียในปฏิกรณ์ชีวภาพแบบไม่ใช้ออกซิเจน และ มีก๊าซมีเทนในช่วงร้อยละ 70–75 โดยมีสารปนเปื้อนปริมาณน้อยและสามารถนำมาใช้แทนก๊าซธรรมชาติได้ในปี 2558 โรงงานได้ติดตั้งหน่วยบำบัดน้ำเสียที่ต้นน้ำตามข้อบังคับใหม่ที่จะส่งผลข้างเคียงเชิงบวก ในการเพิ่มประสิทธิภาพของปฏิกรณ์ชีวภาพ และส่งผลให้มีก๊าซชีวมวลปริมาณมากขึ้น จากการเพิ่มประสิทธิภาพของปฏิกรณ์ชีวภาพนี้ การผลิตก๊าซชีวภาพจึงสูงกว่ากำลังการผลิตของหน่วยผลิตพลังงานแต่ยังจำเป็นต้องปรับปรุง เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากก๊าซ ชีวมวลที่เพิ่มขึ้นได้เต็มประสิทธิภาพ ในปี 2561 ได้มีการเพิ่มเครื่องอัดก๊าซชีวภาพ หน่วยคัดแยก H2S และหัวเผาชุดใหม่ เมื่ออุปกรณ์ใหม่เหล่านี้ติดตั้งพร้อมทำงานการผลิตพลังงานก็จะสูงขึ้นกว่าเดิม โดยคาดการณ์ว่าจะใช้ก๊าซชีวภาพแทนที่ก๊าซธรรมชาติได้ทั้งหมด1,218,000 Nm3/ปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 2,300 tCO2e ต่อปี