การจัดหาจัดซื้ออย่างรับผิดชอบ
กระบวนการประเมินซัพพลายเออร์เริ่มมีขึ้นในปี 2557 และได้ขยายไปถึงซัพพลายเออร์จัดหาวัตถุดิบและซัพพลายเออร์จัดหารายสำคัญที่ไม่ใช่วัตถุดิบจนครบ 100 % ในปี 2558 และยังคงดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน กระบวนการนี้ใช้ได้กับซัพพลายเออร์วัตถุดิบและซัพพลายเออร์จำเป็นที่ไม่ใช่วัตถุดิบรายใหม่ทั้งหมด กระบวนการประกอบด้วยแนวทางที่เป็นระบบและสอดคล้องกันโดยขอให้ซัพพลายเออร์ตอบแบบสอบถามการตรวจประเมินตนเองซึ่งจะช่วยประเมินโอกาสและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน แรงงานเด็ก และการบังคับทำงาน การกำกับดูแล(การปฏิบัติตามกฎระเบียบ) และการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน ไอวีแอลเน้นองค์ประกอบต่อไปนี้ในการตรวจประเมินซัพพลายเออร์รายย่อย
ผลการประเมินปี 2566
- ซัพพลายเออร์วัตถุดิบ 100% และ ซัพพลายเออร์วัสดุที่ไม่ใช่วัตถุดิบที่สำคัญ ได้รับการประเมินตามความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน
- ไม่พบซัพพลายเออร์วัตถุดิบหลักหรือวัสดุที่ไม่ใช่วัตถุดิบที่สำคัญใด ๆ ที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน
- ไม่พบซัพพลายเออร์วัตถุดิบหลักหรือวัสดุที่ไม่ใช่วัตถุดิบที่สำคัญใด ๆ ที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยงเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็ก การบังคับใช้แรงงาน หรือแรงงานภาคบังคับ
- ไม่มีการร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานที่ถูกยื่นผ่านระบบรายงานข้อร้องเรียน
การจัดการเรื่องความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท
เนื่องจากความยั่งยืนเป็นประเด็นที่มีอิทธิพลและถูกหยิบยกมาพูดถึงทั่วโลก ไอวีแอลจึงตอบสนองต่อแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงนี้ด้วยการจัดการเรื่องความตระหนักและมีความมีจิตสำนึกต่อประเด็น ESG ในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดอย่างชัดเจนเพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการของบริษัทฯ มีความมุ่งเน้นเรื่องความยั่งยืนทั้งนี้ไอวีแอลได้พัฒนานโยบายที่ครอบคลุมเพื่อบรรลุการจัดหาวัตถุดิบให้ได้มาตรฐานระดับโลกโดยเน้นประเด็นความยั่งยืน รวมถึงการคิดเชิงธุรกิจแบบองค์รวมถูกบูรณาการอย่างเป็นระบบเข้ากับกลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทาน
ไอวีแอลมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งรวมถึงประเด็น ESG ในข้อตกลงที่มีผลผูกพันตามกฎหมายกับซัพพลายเออร์หลัก
นอกเหนือจากแนวทางในระดับองค์กรแล้ว Indovinya ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจของเรา ได้พัฒนา การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ (Supplier Relationship Management) ซึ่งเป็นแนวทางการทำงานที่คำนึงถึงไม่เพียงแค่ราคาและคุณภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบด้าน ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) ในการประเมินผลการดำเนินงานของซัพพลายเออร์ด้วย ทั้งนี้เพื่อช่วยกำหนดแนวทางปรับปรุงกระบวนการของซัพพลายเออร์ให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ Indovinya ยังได้มีส่วนร่วมกับซัพพลายเออร์อย่างแข็งขันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) โดยกำหนดเป้าหมายเฉพาะสำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 3) ซึ่งรวมถึงแหล่งกำเนิดที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของ Indovinya เช่น กิจกรรมของซัพพลายเออร์ เป้าหมายคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบสัมบูรณ์ (Scope 3 ประเภทที่ 1) ลง 15% ภายในปี 2573เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เราจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์เชิงกลยุทธ์ โดยร่วมมือกันระบุและดำเนินการแก้ไขปัญหาเชิงนวัตกรรม เพื่อลดการปล่อยก๊าซผ่านการปรับปรุงกระบวนการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และมาตรการอื่น ๆ ความพยายามร่วมกันนี้ถือเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการลดคาร์บอนที่มีความหมายในห่วงโซ่คุณค่าอย่างยั่งยืน
การสื่อสารเรื่องพันธกิจเชิงกลยุทธ์ของบริษัทเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน
บริษัทฯ มีการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกเรื่องพันธกิจเชิงกลยุทธ์ที่มีมานานและสะท้อนแนวทางที่ครอบคลุมถึงห่วงโซ่อุปทาน สำหรับการดำเนินงานภายในนั้น เรารับรองว่าประเด็นความยั่งยืนจะถูกสอดแทรกอยู่ในกระบวนการต้นน้ำถึงปลายน้ำของเรา สำหรับภายนอก เราจะตรวจสอบให้แน่ว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นๆ นั้นเป็นไปตามหลักการเดียวกัน
นวัตกรรมเพื่อห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แนวทางความยั่งยืนจะถูกพัฒนาและสร้างสรรค์ผ่านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากซัพพลายเออร์และพันธมิตรของอินโดรามา เวนเจอร์ส ห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ถึงมือผู้บริโภค ในขณะที่ตลาดโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การจัดการห่วงโซ่อุปทานจำเป็นต้องพัฒนาอย่างสร้างสรรค์และเชิงรุกมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างสมดุลระหว่างกระแสการไหลของสินค้าและต้นทุนตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์เราเชื่อว่านวัตกรรมสามารถส่งผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน ผ่านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การจัดหาวัตถุดิบ รวมถึงการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน เช่น การทดแทนวัตถุดิบที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติหรือชีวภาพ วัตถุดิบที่มีความเป็นพิษต่ำ และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
หมายเหตุ: อินโดรามา เวนเจอร์สกำลังติดตามแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดและศึกษาวิจัย เพื่อหาโอกาสในการทดแทนวัตถุดิบที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เมื่อผลการศึกษาด้านความยั่งยืนโดยรวม เช่น การลด GHG สุขภาพมนุษย์ และความหลากหลายทางชีวภาพ ชี้ชัดว่าการทดแทนดังกล่าวเป็นไปได้
การจัดซื้อที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
อินโดรามา เวนเจอร์สมุ่งมั่นใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ และบริการที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัย และมีคุณค่าที่ยั่งยืน เราเข้าใจถึงผลกระทบของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อ:
- ส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน
- ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของมนุษย์
- สนับสนุนตลาดที่ยั่งยืนในระยะยาวสำหรับวัสดุรีไซเคิล
- มีส่วนร่วมในความยั่งยืนผ่านความก้าวหน้าของชุมชนและสังคม
เราลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติมโดยใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น ชีวแก๊ส ชีวมวล และไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในการดำเนินงานของเรา นอกจากนี้ เรายังพิจารณาเพิ่มการใช้ไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งในสถานที่ (โซลาร์รูฟท็อปและภาคพื้นดิน) และนอกสถานที่ (ข้อตกลงการซื้อไฟฟ้าเสมือนจริง) ในปี 2566 เราได้จัดซื้อวัตถุดิบชีวภาพ 223,082 ตัน (Bio-MEG, PLA และเซลลูโลส) สำหรับการผลิต Bio-PET, PLA biopolymers และเส้นใยสำหรับยางรถยนต์ นอกจากนี้ เรายังจัดหาและรีไซเคิลขวด PET และวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วจำนวน 324,256 ตัน
การจัดซื้อจากแหล่งท้องถิ่น
ในการพิจารณาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 3 เราให้ความสำคัญกับการจัดหาและจัดซื้อจากซัพพลายเออร์ในท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจของเรา วิธีนี้ไม่เพียงแต่ส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจและการเติบโตในท้องถิ่น แต่ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซและต้นทุนโดยตรง ซึ่งช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน เรามุ่งมั่นตั้งเป้าหมายสำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 3 ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการห่วงโซ่อุปทานในหมวด "สินค้าที่ซื้อและบริการ" และ "การขนส่งและการกระจายสินค้าในต้นน้ำ"
การส่งเสริมความยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ชุมชน และสังคม
เราได้ร่วมมือกับซัพพลายเออร์หลักบางรายในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมการบริโภคอย่างรับผิดชอบด้วยเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 3 ความริเริ่มนี้จะช่วยเสริมศักยภาพให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดสามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของเราและของพวกเขาในด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงสนับสนุนกลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศของเราอีกด้วย
การประเมินและการบริหารจัดการความเสี่ยง
บริษัทฯ ทำการประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อพัฒนาและนำกลยุทธ์ความเสี่ยงทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพมาใช้ ไอวีแอลให้ความมั่นใจว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมดจะได้รับการบรรเทาอย่างเหมาะสมผ่านเครื่องมือตรวจสอบ กลไก และทรัพยากรต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับการปรับตัวของระบบอุตสาหกรรมและสภาพแวดล้อมที่เราดำเนินงาน
กระบวนการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของบริษัทอย่างต่อเนื่อง
บริษัทฯ รับรองว่าจะดำเนินการบริหารจัดการด้วยความรับผิดชอบและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมต่อไป เราจะระบุช่องทางและหาทางปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานและผลิตภัณฑ์ของเราเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ทั้งยังจะหาโอกาสพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งของใหม่และที่มีอยู่เดิมให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น
ไอวีแอลกำลังเฝ้าติดตามแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดและพิจารณาทบทวนงานศึกษาวิจัยต่างๆ และจะหาโอกาสแทนที่วัตถุดิบจากเชื้อเพลิงฟอสซิลด้วยสิ่งอื่นทันทีที่กรณีเรื่องการทดแทนเพื่อความยั่งยืนในด้านต่างๆโดยรวมมีความชัดเจนทั้งจากมุมมองทาง GHG สุขภาพมนุษย์ และความหลากหลายทางชีวภาพ
ซัพพลายเออร์
จรรยาบรรณของซัพพลายเออร์ถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมให้ห่วงโซ่อุปทานของบริษัทรับทราบและนำมาปรับใช้ตามมาตรฐานสากล เอกสารนี้เกี่ยวข้องกับซัพพลายเออร์โดยตรงในกระบวนการคัดเลือกผู้จัดจำหน่ายซึ่งจะต้องได้รับการตอบรับจากซัพพลายเออร์ นอกจากนี้ในจรรยาบรรณของซัพพลายเออร์ยังระบุเงื่อนไขสัญญาของกิจกรรมการซื้อขายกับไอวีแอลไว้ด้วย กระบวนการประเมินซัพพลายเออร์ซึ่งเริ่มมีขึ้นในปี 2557 ก่อนจะขยายไปถึงซัพพลายเออร์จัดหาวัตถุดิบและนอกเหนือจากวัตถุดิบ รวมถึงผู้รับเหมาทั้งหมดในปี 2558 นั้นยังดำเนินต่อไป โดยซัพพลายเออร์นี้หมายรวมถึงผู้รับเหมาด้วยเช่นกัน และกระบวนการประเมินนี้เป็นวิธีที่เป็นระบบและสอดคล้องกัน
โดยขอให้พวกเขา: | กระบวนการนี้ช่วยให้เราสามารถ: |
---|---|
|
|
ความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับน้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์ม
การผลิตน้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์มเกี่ยวข้องกับความท้าทายด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ องค์กร Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ได้พัฒนาและนำมาตรฐานระดับโลกสำหรับห่วงโซ่อุปทานน้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์มที่ยั่งยืนมาใช้ อินโดรามาเป็นสมาชิกของ RSPOเพื่อสนับสนุนเป้าหมายที่ RSPO ปกป้อง เราได้จัดทำ นโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของคู่ค้า (Responsible Sourcing Policy) สำหรับน้ำมันปาล์ม น้ำมันเมล็ดในปาล์ม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยนโยบายนี้กำหนดข้อกำหนดเฉพาะสำหรับซัพพลายเออร์ของวัตถุดิบหมุนเวียนนี้ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจของเราอินโดรามามุ่งมั่นที่จะเพิ่มความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันปาล์มของเรา เพื่อสนับสนุนแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม