การพัฒนาบุคลากร

ไอวีแอลยังคงยึดมั่นในการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคลทุกระดับโดยการจัดหาสถานที่ทำงานที่ทันสมัย พัฒนาโอกาสและวัฒนธรรมองค์กรที่ดึงดูดใจ ในปี 2564 เราลงทุนด้านการพัฒนาบุคลากรคิดเป็นเงิน 2,400,000 เหรียญสหรัฐ โดยมีชั่วโมงการอบรมเฉลี่ยอยู่ที่ 29.92 ชั่วโมงต่อพนักงาน จากชั่วโมงการอบรมทั้งหมด 708,106 ชั่วโมง

โปรแกรมการอบรมทั้งหมดถูกออกแบบมา เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานของเราได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่ เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานประจำวัน และเหมาะสมต่อความท้าทายในอนาคต

ชั่วโมงการฝึกอบรมแบ่งตามหัวข้อการเรียนรู้

สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย ความปลอดภัย และระบบคุณภาพ
องค์ความรู้ในการปฏิบัติงาน
เทคนิค
ปฐมนิเทศและการฝึกอบรมพนักงานใหม่
ภาวะผู้นำและพฤติกรรม
ทักษะด้านภาษา

ชั่วโมงการฝึกอบรมต่อพนักงาน

(ชั่วโมง/พนักงาน)

ข้อมูลต่อไปนี้เป็นรายละเอียดที่สำคัญบางส่วนของโครงการใหม่

โครงการ V-Lead ในธุรกิจเส้นใย
วัตถุประสงค์ของโครงการ/ผู้นำโครงการ
  • เพื่อพัฒนาช่องทางสื่อสารระหว่างผู้นำและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
  • หัวหน้าหน่วยธุรกิจเป็นผู้นำโครงการ
ผลจากการดำเนินโครงการ

ผู้บริหาร 33 คน เข้าฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพเป็นเวลา 9 เดือน ผ่านการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ออกแบบมาเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศในสายงานอื่นๆ

วัตถุประสงค์ของโครงการ/ผู้นำโครงการ
  • พัฒนาการเป็นผู้นำในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้นำทางธุรกิจเป็นผู้นำโครงการ
ผลจากการดำเนินโครงการ

จากความสำเร็จในการเปิดตัวโครงการ V-Lead ในธุรกิจเส้นใย ทำให้ไอวีแอลเริ่มต้นการพัฒนาแบบเดียวกันสำหรับผู้บริหาร 30 คน ในกลุ่มธุรกิจ PET และสารตั้งต้น ในปีนี้เรามุ่งเน้นที่การวิเคราะห์และการพัฒนากลยุทธ์เฉพาะสำหรับกลุ่มธุรกิจนี้

วัตถุประสงค์ของโครงการ/ผู้นำโครงการ
  • เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถในพื้นที่นั้นๆ ที่จะรับตำแหน่งแทนผู้นำอาวุโส
  • ตัวแทน HR ในพื้นที่นั้นๆ เป็นผู้นำโครงการ
ผลจากการดำเนินโครงการ

ผู้บริหารศักยภาพสูง 18 คน เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไอวีแอลและสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาฯ

วัตถุประสงค์ของโครงการ/ผู้นำโครงการ
  • ออกแบบเพื่อช่วยให้ผู้นำจากทุกระดับพัฒนาทักษะที่จำเป็น เพื่อนำมาซึ่งผลประกอบกธุรกิจที่ยั่งยืน
  • รวมโครงการที่มีอยู่และโครงการใหม่ ระบบเอกสารด้านการฝึกอบรม การฝึกอบรมและการให้คำปรึกษา
  • Global HR เป็นผู้นำโครงการ
ผลจากการดำเนินโครงการ
  • บริษัทได้เริ่มโครงการหลักสูตรผู้นำที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้นำในปัจจุบันและผู้นำยุคใหม่ทั่วโลก เริ่มตั้งแต่ระดับผู้บริหารระดับสูงจนถึงผู้จัดการ
  • การอบรมผู้นำจัดเป็นการดำเนินการพัฒนาระยะยาวตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาผู้นำในองค์กร 3,500 คน ภายในปี 2567
  • ในปี 2563 มีผู้นำในองค์กร กว่า 200 คนได้เข้าร่วมหลักสูตรความเป็นผู้นำในกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การฝึกอบรม การฝึกสอน และการเป็นที่ปรึกษา
วัตถุประสงค์ของโครงการ/ผู้นำโครงการ
  • เพื่อปรับปรุงกระบวนการที่ส่งผลต่อการบริการอย่างมีประสิทธิภาพและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพด้วยต้นทุนที่เหมาะสม
  • ผู้ประสานงานความเป็นเลิศในการดำเนินงานทั่วโลกเป็นผู้นำโครงการ
ผลจากการดำเนินโครงการ

โครงการ LSS เป็นโครงการพัฒนาต่อเนื่องของไอวีแอลที่ช่วยสร้างเสริมวัฒนธรรมการพัฒนาบุคลากรและความผูกพันของพนักงาน แม้โครงการ LSS จะมีเทคนิคการวิเคราะห์ระดับสากลมากมายและวิธีการที่มีระเบียบแบบแผนในการดำเนินโครงการ แต่เป้าหมายหลักคือการมุ่งเน้นที่ตัวบุคคล ในปี 2557 มีสถานปฏับัติงานเพียง 4 แห่ง ที่เริ่มต้นจัดโครงการนี้และเพิ่มขึ้นเป็น 41 แห่ง ใน 5 ทวีป ภายในปี 2562

ในปี 2562 มีพนักงานกว่า 1,880 คน เข้าร่วมโครงการ LSS และดำเนินการไปแล้วกว่า 300 โครงการ ดังนี้

  • โครงการมุ่งเน้นการลดการใช้พลังงานน้ำและไฟฟ้าจำนวน 17 โครงการ
  • โครงการมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการที่มีประสิทธิภาพจำนวน 27 โครงการ
  • โครงการมุ่งเน้นปรับปรุงการดำเนินงานที่ช่วยลดต้นทุน คิดเป็นเงินกว่า 9 ล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 226 โครงการ

ตั้งแต่ปี 2555-2562 การฝึกอบรม Six Sigma มากกว่า 62,896 ชั่วโมง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้บริษัทคิดเป็นเงิน 41 ล้านเหรียญสหรัฐ

จากปี 2561-2562 โครงการสำคัญที่ได้รับการคัดเลือกครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของไอวีแอล มีดังนี้

  • ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (EHS)
  • ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า (การร้องเรียนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่)
  • คุณภาพ
  • ผลผลิต
  • ความน่าเชื่อถือ
  • ความยั่งยืน
  • การประหยัดต้นทุน
  • การพัฒนากำลังคน
  • กิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

ได้มีการจัดตั้งทีมงานข้ามสายงานและดำเนินโครงการเพื่อหยุดยั้งการทำงานแบบไซโล (Silos) รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ตามหัวข้อที่กำหนด

โครงการ Lean Six Sigma สนับสนุนกลยุทธ์ที่เน้นความยั่งยืนและค่านิยมของไอวีแอลอันเป็นผลดีทั้งต่อสภาพแวดล้อมและบริษัทของเราทั่วโลก

โครงการ LSS ช่วยสนับสนุนความยั่งยืนผ่านกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เราปล่อยของเสียและใช้พลังงานน้อยลง

ในปี 2563 ไอวีแอลมุ่งเน้นให้บุคลากรมีส่วนร่วมผ่านโครงการ LSS มากขึ้น และจะบูรณาการเครื่องมืออุตสาหกรรม 4.0 เข้ากับโครงการผ่าน ความเป็นเลิศด้านดิจิทัลและจะยังคงให้ความสำคัญกับการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมบุคลากรที่มีความมุ่งมั่นและความสามารถสืบต่อไป