การประเมินด้านสิทธิมนุษยชนในสถานที่ทำงาน
ขอบเขตการประเมินด้านสิทธิมนุษยชนในสถานที่ทำงานของเราแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับองค์กร ระดับประเทศ ระดับโรงงาน และระดับผลิตภัณฑ์
การดำเนินงานของเรารวมถึงกิจการร่วมทุนครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียดังต่อไปนี้
พนักงาน
เด็ก
คนท้องถิ่น
แรงงานอพยพ
แรงงานรับเหมา
จากหน่วยงานภายนอก
ชุมชนท้องถิ่น
กลุ่มบุคลากร
ที่มีความเปราะบาง
ขอบเขตการประเมินด้านสิทธิมนุษยชนในสถานที่ทำงาน (WHRA) มีกระบวนการประเมิน 3 ขั้นตอนเรียกว่า IACM ประกอบไปด้วย การระบุความเสี่ยง (Identify) การประเมิน (Assess) การสื่อสาร (Communicate) และการบรรเทา (Mitigate) ในปี 2559 ไอวีแอลเริ่มใช้แบบประเมินออนไลน์ด้านสิทธิมนุษยชนในสถานที่ทำงานโดยยังคงยึดตามกระบวนการประเมินทั้ง 3 ขั้นตอนดังกล่าวเป็นสำคัญ ในปี 2562 เราได้ดำเนินการประเมินในสถานที่ทำงานของไอวีแอลกว่า 33 ประเทศ โดยการประเมินนี้ครอบคลุมบุคลากรที่มีความเปราะบาง 5 กลุ่ม ได้แก่ ชนกลุ่มน้อย บุคคลทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ซึ่งกลุ่มบุคลากรดังกล่าวเป็นบุคลากรภายใต้การดำเนินงานและกิจการร่วมทุนของไอวีแอล นอกจากนั้น แนวคำถามของการประเมินได้ขยายครอบคลุมถึงประเด็นด้านเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงใหม่ เพื่อให้แบบประเมินมีความสอดคล้องกับแนวโน้มในอนาคตมากขึ้น
ผลลัพธ์จากการประเมินในปี 2562 มีดังต่อไปนี้
การระบุความเสี่ยง
- ความเสี่ยงทั้งหมดจากการสำรวจในปี 2561 เกี่ยวข้องกับชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสมและข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งได้รับการบรรเทาตามข้อมูลที่แสดง
- มีการเพิ่มดัชนีบ่งชี้ความเสี่ยงใหม่ (เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม)
- มีการเพิ่มเติมคำถาม 6 ข้อ ที่เกี่ยวเนื่องกับตัวบ่งชี้ความเสี่ยงดังกล่าวในการประเมินความเสี่ยง
การประเมิน
- ดำเนินการทำแบบประเมินออนไลน์ด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมทุกสถานที่ทำงานของไอวีแอล
- ผลการวัดความโน้มเอียงของความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (HRRP)* ในปี 2562 คือร้อยละ 0.41
- การระบุประเด็นความเสี่ยงใน 17 หน่วยธุรกิจของเรา
การสื่อสารและการบรรเทา
- จากประเด็นความเสี่ยงที่ระบุได้มีการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียเพื่อระบุบทบาทและแนวทางลดความเสี่ยง
- การกำหนดแผนปฏิบัติการตามแนวทางการบรรเทาความเสี่ยงที่ได้ตกลงไว้ พร้อมกับกลไกการติดตามเพื่อตรวจสอบความคืบหน้า
ประเด็นหลักที่ต้องดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขมีดังต่อไปนี้
ประเด็นหลัก | การปฏิบัติด้านการเยียวยา | ประเด็นสำคัญที่ต้องดำเนินการปรับปรุง | ||
---|---|---|---|---|
ระดับองค์กร | ระดับประเทศ/ระดับโรงงาน | |||
ความปลอดภัย ความเหมาะสม และสุขอนามัยในสถานที่ทำงาน |
การป้องกันและเฝ้าระวังสถานที่ทำงานให้เหมาะสมปลอดภัย และปลอดเชื้อในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 |
|
|
จากการประเมินไม่พบความเสี่ยงในกลุ่มบุคลากรที่มีความเปราะบางทั้ง 5 กลุ่ม ไอวีแอลจะยังดำเนินการประเมินด้านสิทธิมนุษยชนในสถานที่ทำงานทั้ง 3 ขั้นตอนต่อไป เพื่อให้แน่ใจว่าบุคลากรจะได้รับการประเมินอย่างสม่ำเสมอ โดยคำนึงถึง ความเสี่ยงเฉพาะและการดำเนินงานของไอวีแอล |
การตัดสินใจเกี่ยวกับการว่าจ้างอิงตามเกณฑ์และวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้อง |
เพื่อให้มั่นใจว่าการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการว่าจ้างค่าตอบแทนและสวัสดิการการเลื่อนขั้น การอบรมกฎระเบียบ การเกษียณและการเลิกจ้างเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม |
|
|
ในปี 2562 ไม่พบความเสี่ยงจากการดำเนินงานอันเกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานเด็ก การบังคับและเกณฑ์แรงงานจากซัพพลายเออร์จัดหาวัตถุดิบและนอกเหนือจากวัตถุดิบ